กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


1. กิจกรรมเสรี

 


เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอิสระตามมุมการเล่น หรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมธรรมชาติศึกษา มุมบ้าน มุมร้านค้า เป็นต้น มุมต่างๆ เหล่านี้ เด็ก ๆ มีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย

อนึ่ง กิจกรรมเสรีนอกจากให้เด็กเล่นตามมุมแล้ว อาจให้เด็กทำกิจกรรมที่ครูจัดเสริมขึ้น เช่น เกมการศึกษา เครื่องเล่นสัมผัส กิจกรรมสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ

2. กิจกรรมสร้างสรรค์

 

กิจกรรมสร้างสรรค์

กิจกรรมสร้างสรรค์

เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การฉีก ตัด ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือ วิธีการอื่นๆ ที่เด็กๆ ได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสมกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์ การสร้างรูปจากกระดานปักหมุด เป็นต้น

3. กิจกรรมการเคลื่อนไหว และจังหวะ

 

 กิจกรรมการเคลื่อนไหว และจังหวะ

กิจกรรมการเคลื่อนไหว และจังหวะ

เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ และอุปกรณ์อื่นๆ มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์

 

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

กิจกรรมเสริมประสบการณ์


เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิด แก้ปัญหา ใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ เช่น สนทนา อภิปราย สาธิต ทดลอง เล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง ศึกษานอกสถานที่ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เป็นต้น

5. กิจกรรมกลางแจ้ง

 

กิจกรรมกลางแจ้ง

กิจกรรมกลางแจ้ง

เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกาย และแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

กิจกรรมกลางแจ้งที่จัดให้เด็กเล่น ได้แก่ การเล่นเครื่องเล่นสนาม การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา การเล่นทราย / การเล่นน้ำ การเล่นเกมการละเล่น การเล่นบทบาทสมมติในบ้านจำลอง การเล่นในมุมช่างไม้

6. เกมการศึกษา

 

เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกตคิดหาเหตุผล และเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ สี รูปร่าง จำนวน ประเภท และความสัมพันธ์ เกี่ยวกับพื้นที่ ระยะ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3–6 ปี ได้แก่ เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ โดมิโน ภาพตัดต่อ ต่อตามแบบ ฯลฯ

กิจกรรมเสริมหลักสูตร

 

กิจกรรมเสริมหลักสูตร

กิจกรรมเสริมหลักสูตร

ทางโรงเรียนฯ ได้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น ดังนี้

  1. คอมพิวเตอร์ เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1-3 โดยจัดโปรแกรมการสอนให้ สอดคล้องกับหน่วยการเรียน ตามหลักสูตร(สัปดาห์ละ 2 ครั้ง)
  2. ภาษาอังกฤษ เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นเนอสเซอรี่ จนถึงอนุบาล 3 โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้ และฝึกทักษะการฟัง การพูด ผ่านการเล่นกิจกรรมต่างๆ กับครูชาวต่างประเทศ (สัปดาห์ละ 2 ครั้ง)
  3. ศิลปศึกษา เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นเนอสเซอรี่จนถึงอนุบาล3 โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้การวาดภาพอย่างง่าย การระบายสี การปั้น การฉีกปะ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มและจินตนาการ (สัปดาห์ละ 2 ครั้ง)
  4. พลานามัย เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นเนอสเซอรี่ จนถึงอนุบาล3 โดยนักเรียนจะได้ออกกำลังกายประกอบจังหวะเพลงที่สนุกสนาน เกมฝึกกล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อเท้าให้แข็งแรง ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายให้สมบูรณ์ (ทุกวันจันทร์)
  5. ว่ายน้ำ เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นเนอสเซอรี่ จนถึงอนุบาล 3 โดยฝึกเน้นให้นักเรียนเกิดความกล้าไม่หวาดกลัว มีทัศนคติที่ดีต่อการลงเล่นน้ำ และมีทักษะในการว่ายน้ำที่ถูกต้อง ในกรณีที่นักเรียนไม่สบาย ผู้ปกครองสามารถแจ้งงดการว่ายน้ำได้ในสมุดรายงานประจำวัน (สัปดาห์ละ 2 ครั้ง)
  6. ดนตรีสากล เริ่มสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1-3 โดยฝึกเน้นให้นักเรียนรู้จักจังหวะการออกเสียง การแสดงออกประกอบจังหวะ รู้จักโน๊ตดนตรีสากลอย่างง่าย (สัปดาห์ละ 2 ครั้ง)

กิจกรรมพิเศษเสริมประสบการณ์พื้นฐานทางวิชาการ

 

กิจกรรมพิเศษเสริมประสบการณ์พื้นฐานทางวิชาการ

กิจกรรมพิเศษเสริมประสบการณ์พื้นฐานทางวิชาการ

กิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนฯจัดขึ้นจะเป็นกิจกรรมพิเศษเสริมประสบการณ์พื้นฐานของวิชาการ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่เด็กๆในหลายๆ ด้าน ดังนี้

  1. ดนตรี ช่วยทำให้สมองทั้งสองซีกได้รับการกระตุ้น และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมองซีกขวาก็จะพัฒนาทางด้านอารมณ์ได้สมดุลคู่กับสมองซีกซ้ายที่พัฒนาทางด้านสติปัญญาให้แหลมคมขึ้น
  2. บัลเล่ย์ ด้วยท่วงท่าที่สง่างาม การมีบุคลิกภาพที่ดี การมีทักษะ พื้นฐานในการ ทรงตัวที่ถูกต้อง นำมาซึ่ง ความมั่นใจในการแสดงออก และจิตใจที่เบิกบาน
  3. นาฏศิลป์ไทย ความอ่อนช้อย นุ่มนวล งดงามเป็นพื้นฐานความอ่อนโยนที่ดีของ จิตใจ และอารมณ์อัน สุนทรี มีจินตนาการที่สัมพันธ์กับเสียงและความงาม
  4. เทควันโด ฝึกการใช้ท่าทางอย่างมีศิลปะ ความแข็งแกร่งที่ได้ นอกเหนือจาก ร่างกายที่แข็งแรงแล้ว สมาธิที่ดีและแน่วแน่ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีพื้นฐานทางสติปัญญาที่ดีต่อไปในอนาคต
  5. ยิมนาสติก ฝึกให้รู้จักการทรงตัว การกระโดด การวิ่ง การเคลื่อนไหวจะทำให้มี พัฒนาการด้าน Visual-Spatial ดีถ้าฝึกฝนบ่อยๆ จะทำให้ทักษะต่างๆ พัฒนาการได้ดียิ่งขึ้น
  6. ฟุตบอล ฝึกให้มีทักษะพื้นฐานการเล่นฟุตบอลระดับเด็กได้ถูกต้อง นอกจากความแข็งแรงของร่างกายที่จะได้รับแล้ว ยังฝึกให้นักเรียนรู้จักแพ้-รู้ชนะ มีน้ำใจ สามัคคี ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เป็นอย่างดี
  7. ศิลปะโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่สืบค้นหาข้อมูล การค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง ส่งเสริมให้เด็กรู้จักตัดสินใจ คิดเป็นและทำเป็น
  8. ว่ายน้ำ เป็นกิจกรรมที่ช่วยฝึกให้เด็กมีทักษะในการว่ายน้ำที่ถูกต้องสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในน้ำ และเป็นการออกกำลังทางร่างกายที่ดีที่สุด
  9. ภาษาอังกฤษ ฝึกทักษะทางด้านการฟัง การพูด การเรียนรู้ผ่านสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ และเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมกับคุณครูชาวต่างประเทศ
  10. ภาษาจีน ฝึกทักษะการพูด การเรียนรู้จากสัญลักษณ์ต่างๆ ผ่านนิทานและเสียงเพลงกับคุณครูเจ้าของภาษา

ตารางกิจกรรมประจำวัน ระดับเนอสเซอรี่

 

07.00 – 08.00 รับเด็ก ทักทาย สวัสดี
08.00 – 08.30 เคารพธงชาติ สวดมนต์ สมาธิ กิจกรรมบนเวที / นิทานหุ่นมือ / เกม
08.30 – 08.45 กลับเข้าห้องเรียน ตรวจสุขภาพ เข้าห้องน้ำ ล้างมือ
08.45 – 09.15 ดื่มนม อาหารว่าง เข้าห้องน้ำ ล้างมือ
09.15 – 09.30 กิจกรรมในวงกลม (สนทนา / อบรม / ท่องคำกลอน / อ่านออกเสียง)
09.30 – 10.00 กิจกรรมว่ายน้ำ / ภาษาอังกฤษ / กลางแจ้ง
10.00 – 10.30 กิจกรรมฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ / เชาวน์ / ภาษาไทย
10.30 – 11.00 กิจกรรมสร้างสรรค์ / กิจกรรมเสริมประสบการณ์ / กิจกรรมเข้าจังหวะ
11.00 – 11.45 เข้าห้องน้ำ ล้างมือ รับประทานอาหารกลางวัน ดื่มนม
11.45 – 12.15 แปรงฟัน อาบน้ำ เปลี่ยนชุดนอน
12.15 – 14.15 นอนหลับพักผ่อน
14.15 – 14.45 เก็บที่นอน เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า เปลี่ยนเสื้อผ้า
14.45 – 15.05 ดื่มนม อาหารว่าง
15.05 – 15.20 เก็บของ ใส่ถุงเท้า รองเท้า เตรียมกระเป๋า
15.20 – 15.30 เข้าแถว รอผู้ปกครองรับกลับบ้าน

กิจกรรมเสริมในหลักสูตร

  • พลานามัย 1 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ (ทุกวันจันทร์)
  • ว่ายน้ำ 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
  • ภาษาอังกฤษ 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
  • ศิลปะ 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์

ตารางกิจกรรมประจำวัน ระดับอนุบาล 1 ถึง 3

 

อนุบาล 1 อนุบาล 2 อนุบาล 3
07.00 – 08.00 รับเด็ก ทักทาย สวัสดี
08.00 – 08.30 เคารพธงชาติ สวดมนต์ สมาธิ กิจกรรมบนเวที / นิทานหุ่นมือ / เกม
08.30 – 08.45 ขึ้นห้องเรียน ตรวจสุขภาพ เข้าห้องน้ำ ล้างมือ
08.45 – 09.15
กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม
09.15 – 09.30 ดื่มนม อาหารว่าง เข้าห้องน้ำ ล้างมือ
09.30 – 10.00
กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม
10.00 – 10.30
กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม
10.30 – 11.00
กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม
11.00 – 11.30
อาหารกลางวัน กิจกรรม กิจกรรม
11.30 – 12.00
แปรงฟัน อาบน้ำ
เปลี่ยนชุดนอน
อาหารกลางวัน กิจกรรม
12.00 – 12.30
นอนหลับพักผ่อน
เข้าห้องน้ำ แปรงฟัน
นอนหลับพักผ่อน
เก็บที่นอน ล้างหน้า
อาหารกลางวัน
เข้าห้องน้ำ แปรงฟัน
กิจกรรม
กิจกรรม
12.30 – 13.00
13.00 – 13.30
13.30 – 14.00
14.00 – 14.45
เก็บที่นอน
ล้างหน้า เปลี่ยนชุด
กิจกรรม กิจกรรม
14.45 – 15.00 ดื่มนม อาหารว่าง เข้าห้องน้ำ ล้างมือ
15.00 – 15.20 สำรวจของใช้ส่วนตัว / ส่วนรวม เครื่องแต่งกาย
15.20 – 15.30 เข้าแถวดูวีดีโอ / รอผู้ปกครอง(วันศุกร์ สวดมนต์ ร้องเพลงสรรเสริญฯ) กลับบ้าน

หมายเหตุ กิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ของชั้นอนุบาล 1 – 3 มีดังนี้

1. กิจกรรมในหลักสูตร ได้แก่

  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • กิจกรรมกลางแจ้ง
  • กิจกรรมเสรี
  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  • กิจกรรมสร้างสรรค์
  • เกมการศึกษา
2. กิจกรรมเสริมในหลักสูตร ได้แก่

  • พลานามัย 1 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ (ทุกวันจันทร์)
  • ว่ายน้ำ 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
  • ภาษาอังกฤษ 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
  • คอมพิวเตอร์ 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
  • ดนตรีสากล 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
  • ศิลปะ 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์